Sunday, November 24, 2019

นักภูมิศาสตร์ กับ นักธรณีวิทยา แตกต่างกันอย่างไร?

นักภูมิศาสตร์ กับ นักธรณีวิทยา แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนสงสัย นักภูมิศาสตร์ และ นักธรณีวิทยา คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร? ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งสองอย่างนี้ ก็มีความใกล้เคียงกัน ในเรื่องของความสนใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของโลก ปรากฏการณ์ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก แต่จะแตกต่างกัน ดังนี้

นักภูมิศาสตร์ กับ นักธรณีวิทยา แตกต่างกันอย่างไร?

 นักภูมิศาสตร์, นัก ภูมิศาสตร์ ใคร, อาชีพนักภูมิศาสตร์, นักภูมิศาสตร์ คุณสมบัติ, นักภูมิศาสตร์ คือ, นักภูมิศาสตร์คนสำคัญ, นักภูมิศาสตร์ สมัครงาน, นักภูมิศาสตร์ ภาษาจีน, บิดาภูมิศาสตร์ของไทย

นักธรณีวิทยา (Geologist) คือ?

ผู้ศึกษา ค้นคว้า และเสาะแสวงหา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทุกสรรพสิ่งลึกลงไปภายใต้พื้นผิวโลก และถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลในสายงานอื่นๆ เพื่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้นอย่างสมดุลกับธรรมชาติ โดยการศึกษาข้อมูลและหลักฐานที่ได้จากการสำรวจอย่างมีระบบ

นักธรณีวิทยาจะบูรณาการความรู้ทางธรณีวิทยากับข้อมูลที่มีอยู่และถ่ายทอดเป็นความรู้ให้กับผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปงานทางธรณีวิทยามักจะอยู่ในชั้นตอนแรกๆ ของโครงการต่างๆ หลังจากนั้นจะคอยควบคุม ให้คำแนะนำ และประเมินผลกับผู้ร่วมงานจนเสร็จสิ้นโครงการ

หน้าที่ของนักธรณีวิทยา (จบมาแล้วทำงานอะไร?)

 นักภูมิศาสตร์, นัก ภูมิศาสตร์ ใคร, อาชีพนักภูมิศาสตร์, นักภูมิศาสตร์ คุณสมบัติ, นักภูมิศาสตร์ คือ, นักภูมิศาสตร์คนสำคัญ, นักภูมิศาสตร์ สมัครงาน, นักภูมิศาสตร์ ภาษาจีน, บิดาภูมิศาสตร์ของไทย

นักธรณีวิทยามีหน้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะงานของแต่ละคน ผู้ที่จบจากสาขาธรณีวิทยา สามารถเลือกปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้

  • Coal geologists สำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรถ่านหิน ประเมินศักยภาพการทำเหมืองถ่านหิน และการพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากถ่านหิน
  • Computing geologists พัฒนาโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นพี่และการวางแผนจัดการ
  • Economic geologists ศึกษาวิเคราะห์และประเมินศักยภาพแหล่งแร่เศรษฐกิจ
  • Engineering geologists วิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีวิทยา เพื่อให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชน ในเรื่องของความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง อาทิ เขื่อน ทางหลวง สนามบิน อุโมงค์ และในการสำรวจและผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แหล่งแร่ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับวิศวกร
  • Environmental geologists ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้พื้นพูพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีค่าเหมือนเดิม
  • Geochemists ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแร่และหิน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการกระจายตัว และคุณภาพของแร่ในเปลือกโลก
  • Geochronologists วิเคราะห์อายุของหิน โดยการศึกษาจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
  • Geomorphologists ศึกษาภูมิประเทศ และกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลก
  • Hydrogeologists ศึกษาปริมาณและคุณภาพของน้ำใต้ดิน ตรวจสอบการปนเปื้อน และพัฒนาน้ำใต้ดินมาใช้
  • Marine geologists ศึกษาสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลและมหาสมุทร ให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของแอ่งในมหาสมุทร เป็นประโยชน์ต่อการสำรวจแหล่งแร่และปิโตรเลียม
  • Mineralogists วิเคราะห์และจำแนกแร่และหิน จากองค์ประกอบทางเคมี และโครงสร้างของแร่ เพื่อนำไปพัฒนาในอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
  • Mining geologists ค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์และศึกษาแง่ของศักยภาพและความปลอดภัยในการทำเหมือง
  • Paleontologists ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การกำหนดอายุทางธรณีวิทยา การสำรวจปิโตรเลียม วิวัฒนาการของสภาพแวดล้อมในอดีต
  • Petroleum geologists ศึกษาข้อมูลธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี เพื่อหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และให้ข้อมูลกับวิศวกรปิโตรเลียมในกระบวนการสำรวจและผลิต
  • Planetary geologists ศึกษาพฤติกรรมและวิวัฒนาการของโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในจักรวาล
  • Sedimentologists ศึกษากระบวนการเกิดหินตะกอน คุณสมบัติทางการภาพและเคมีของหิน เพื่อนำไปประยุกต์กับการหาแหล่งถ่านหิน ปิโตรเลียม และทรัพยากรแร่
  • Stratigraphers ศึกษาการระบบของชั้นหินตะกอน วิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ เปรียบเทียบกับข้อมูลจากพื้นที่อื่น ในระหว่างการหาทรัพยากรธรรมชาติ
  • Structural geologists ศึกษารูปร่างและการเปลี่ยนรูปของหิน ในพื้นที่ศักยภาพต่อการสะสมตัวของแหล่งแร่ และปิโตรเลียม
  • Surficial geologists ศึกษาตะกอน และชั้นหินบริเวณผิวโลก เพื่อเป็นข้อมูลต่อการก่อสร้าง การสำรวจแหล่งแร่ แหล่งปนเปื้อน การจัดการพื้นที่และการวางระบบผังเมือง
  • Volcanologists ศึกษาภูเขาไฟที่ยังปะทุและดับแล้ว ศึกษากระบวนการเกิดทั้งทางเคมี และกายภาพ เพื่อประเมินการเสี่ยงภัยในอนาคต
  • Wellsite geologists ทำงานใกล้ชิดกับทีมงานขุดเจาะในพื้นที่สำรวจ เพื่อให้มั่นใจว่าหลุมเจาะนั้นอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และทำการเก็บตัวอย่างจากหลุมเจาะมาวิเคราะห์

การเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาธรณีวิทยา จะต้องมี ความรอบรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเน้นวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และสมัครสอบเข้าศึกษาได้โดยการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่

หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)

  • ภาควิชาธรณีวิทยา (Geology) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาธรณีวิทยา (Geological Sciences) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี (Geotechnology) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สาขาวิชาธรณีศาสตร์ (Geosciences) ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Sciences) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.บ.)

  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี (Geotechnology) สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

นักภูมิศาสตร์ (Geography) คือ?

 นักภูมิศาสตร์, นัก ภูมิศาสตร์ ใคร, อาชีพนักภูมิศาสตร์, นักภูมิศาสตร์ คุณสมบัติ, นักภูมิศาสตร์ คือ, นักภูมิศาสตร์คนสำคัญ, นักภูมิศาสตร์ สมัครงาน, นักภูมิศาสตร์ ภาษาจีน, บิดาภูมิศาสตร์ของไทย

เป็นผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นบนโลก พูดง่ายๆ ก็คือการศึกษาโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ อีกทั้งใต้ดิน บนฟ้าและทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะเป็นที่รู้จักในฐานะของผู้สร้างแผนที่มาตั้งแต่อดีต แต่ความจริงแล้วแผนที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาขาการทำแผนที่ และการทำแผนที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสาขาภูมิศาสตร์เช่นกัน นักภูมิศาสตร์ไม่ได้ศึกษาเพียงแต่รายละเอียดของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งว่ามีผลกระทบต่อกันและกันอย่างไรบ้าง ทำให้ภูมิศาสตร์มีความเป็นสหวิทยาการสูง

สาขาภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์สามารถแบ่งสาขา โดยรายละเอียดมีดังนี้

ภูมิศาสตร์กายภาพ

ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นสาขาที่มุ่งเน้นการศึกษาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์โลก เพื่อเข้าใจลักษณะและปัญหาของธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศ รวมถึงชีวภาคด้วย ภูมิศาสตร์กายภาพสามารถแบ่งประเภทออกได้อีกเช่น

  • ชีวภูมิศาสตร์
  • ภูมิอากาศวิทยาและอุตุนิยมวิทยา
  • ภูมิศาสตร์ชายฝั่ง
  • การจัดการสิ่งแวดล้อม
  • ภูมิมาตรศาสตร์
  • ธรณีสัณฐานวิทยา
  • วิทยาธารน้ำแข็ง
  • อุทกวิทยาและอุทกศาสตร์
  • นิเวศวิทยาภูมิทัศน์
  • สมุทรศาสตร์
  • ปฐพีวิทยา
  • ภูมิศาสตร์บรรพกาล

ภูมิศาสตร์มนุษย์

ภูมิศาสตร์มนุษย์เป็นสาขาที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาการศึกษาแบบรูปและกระบวนการอันเกิดจากสังคมมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมทั้งมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์มนุษย์สามารถแบ่งประเภทออกได้อีกเช่น

  • ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม
  • ภูมิศาสตร์การพัฒนา
  • ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
  • ภูมิศาสตร์สุขภาพ
  • ภูมิศาสตร์เชิงประวัติและภูมิศาสตร์เชิงเวลา
  • ภูมิศาสตร์การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ภูมิศาสตร์ประชากรและประชากรศาสตร์
  • ภูมิศาสตร์ศาสนา
  • ภูมิศาสตร์เชิงสังคม
  • ภูมิศาสตร์การขนส่ง
  • ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
  • ภูมิศาสตร์เมือง
  • ภูมิศาสตร์พฤติกรรม
  • ภูมิศาสตร์สตรีนิยม
  • ทฤษฎีทางวัฒนธรรม

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่อธิบายถึงลักษณะเชิงพื้นที่ของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติของโลก การศึกษาภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงลักษณะดั้งเดิมของภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ตลอดจนวิธีการที่สังคมมนุษย์กำหนดกรอบความคิดให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นตัวเชื่อมระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์อันเนื่องมาจากความเชี่ยวชาญของทั้งสองสาขาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จึงจำเป็นที่ต้องมีวิธีแบบใหม่ในการเข้าใจความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงและพลวัต ตัวอย่างของการศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดการภาวะฉุกเฉิน การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน นิเวศวิทยาการเมือง

ภูมิสารสนเทศ

เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคเชิงพื้นที่แบบดั้งเดิมในการทำแผนที่และศึกษาภูมิประเทศร่วมกับการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 เทคนิคต่างๆ ของภูมิสารสนเทศเป็นที่แพร่หลายในสาขาวิชาอื่นมากมาย เช่น จีไอเอส และการรับรู้จากระยะไกล นอกจากนี้ภูมิสารสนเทศยังส่งผลต่อการฟื้นฟูหน่วยงานทางภูมิศาสตร์บางส่วนซึ่งถูกลดสถานะลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ

ภูมิสารสนเทศมีความครอบคลุมกับสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่อย่างมาก เช่น การทำแผนที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การรับรู้จากระยะไกล และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS)

ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่ศึกษาถึงทุกภูมิภาคของโลกซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างเฉพาะตัว หลักสำคัญของภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือเพื่อเข้าใจถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวของภูมิภาคนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไรทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมและมนุษย์ที่อยู่อาศัยในภูมิภาคนั้นด้วย ภูมิศาสตร์ภูมิภาคยังมีผลต่อภูมิภาคาภิวัตน์ซึ่งครอบคลุมถึงการใช้วิธีที่เหมาะสมในการแบ่งพื้นที่ออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย

ภูมิศาสตร์ภูมิภาคถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการหนึ่งสำหรับการศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ (คล้ายคลึงกับการปฏิวัติเชิงปริมาณ หรือภูมิศาสตร์เชิงวิพากษ์)

การเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ จะต้องมีความรอบรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า และสมัครสอบเข้าศึกษาได้โดยการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่

  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะภูมิศาสตร์สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักภูมิศาสตร์
  • นักภูมิสารสนเทศ
  • นักพัฒนาโปรแกรมภูมิสารสนเทศ
  • เจ้าหน้าที่แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
  • รับราชการในหน่วยงานภาครัฐ  อาทิเช่น  กรมพัฒนาที่ดิน   กรมชลประทาน   กรมที่ดิน   กรมอุทยานแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรมแผนที่ทหาร กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรธรณี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สทอภ กรมการผังเมือง เป็นต้น
  • พนักงานในบริษัทเอกชน และบริษัทที่ปรึกษา ด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

ที่มาข้อมูล geothai.net, wikipedia

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

นักสำรวจถ้ำ ต้องเรียนจบอะไร? วิธีสำรวจถ้ำ ทำยังไงบ้าง?

‘ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน’ ย้อนตำนาน หุบเขาแห่งรักที่แสนเศร้า

ทำความรู้จัก “หน่วยซีล” (SEAL) คือหน่วยอะไร?

ตาเทพ Leica Scanner P20 เครื่องสแกนค้นหา 13 ชีวิตในถ้ำหลวง

Link Source : https://teen.mthai.com/variety/152446.html

นักภูมิศาสตร์, นัก ภูมิศาสตร์ ใคร, อาชีพนักภูมิศาสตร์, นักภูมิศาสตร์ คุณสมบัติ, นักภูมิศาสตร์ คือ, นักภูมิศาสตร์คนสำคัญ, นักภูมิศาสตร์ สมัครงาน, นักภูมิศาสตร์ ภาษาจีน, บิดาภูมิศาสตร์ของไทย

No comments:

Post a Comment