Friday, November 29, 2019

อุทาหรณ์หนี้กู้ยืม! เจ้าหนี้ควรทำสัญญากู้ให้รอบคอบ การทวงประจานผิดกฎหมาย

อุทาหรณ์หนี้กู้ยืม! เจ้าหนี้ควรทำสัญญากู้ให้รอบคอบ การทวงประจานผิดกฎหมาย

ประเด็นน่าสนใจ

  • เพจทนายแนะ! การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินควรทำสัญญาเงินกู้ เงินที่ให้ผู้อื่นกู้มากกว่า 2000 บาท หากไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม ยากต่อการฟ้องร้อง
  • ทั้งนี้ การที่เจ้าหนี้โพสต์ประจานลูกหนี้ เจ้าหนี้จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้
  • ข้อความแชท-ไลน์ สามารถใช้ประกอบหลักฐานการกู้ยืมในกรณีที่มีการฟ้องร้องได้แทนสัญญากู้ยืม

หลังจากก่อนหน้านี้ทาง MThai ได้หยิบยกกรณีเจ้าหนี้หญิงรายหนึ่งโพสต์เล่าเรื่องราวอุทาหรณ์ หลังเธอต้องอยู่ในคุก 1 วัน 1 คืนเต็มๆ เพราะโดนหมายจับจากตำรวจ ข้อหาหมิ่นประมาท เนื่องจากโพสต์ประจานทวงหนี้จำนวนเงิน 30,000 บาท

คลิกอ่านข่าว สาวโวย! โพสต์ทวงหนี้สามหมื่น ถูกหมายจับนอนคุก 1 คืน ฐานหมิ่นประมาท

ล่าสุดทางแฟนเพจทนายคู่ใจ ซึ่งมีทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ เป็นผู้ดูแลอยู่ ได้โพสต์ข้อความแนะนำเหล่าเจ้าหนี้ ถึงการให้ผู้อื่นยืมเงิน ว่าควรทำสัญญากู้ยืมให้รอบคอบ ซึ่งในทางกฎหมายการกู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาท หากไม่มีสัญญาการกู้ยืมที่ถูกต้อง ฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ กรณีการโพสต์ทวงหนี้ก็เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้

ข้อความทั้งหมดมีดังนี้ …

สำหรับหนี้กู้ยืมแล้วเจ้าหนี้ควรทำสัญญากู้ยืมเงินให้รอบคอบ และหาบุคคลที่มีหลักทรัพย์มาค้ำประกันด้วย ถ้ามีการหนีหนี้ก็ควรไปฟ้องศาล ไม่ใช่นำลูกหนี้มาประจาน เพราะตามกฎหมายการกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ (มาตรา 653)

ซึ่งถ้าเจ้าหนี้โพสต์ประจานลูกหนี้เจ้าหนี้จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ มาตรา 11(3) ที่บอกว่า “ห้ามผู้ทวงถามหนี้แจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้”

หากเจ้าหนี้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

การโพสต์ภาพของผู้อื่นโดยทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๒๘

กรณีมีหมายศาลมาแล้วไม่ไป บุคคลที่เป็นจำเลยถ้าขัดหมายศาลคดีอาญาจะต้องถูกออกหมายจับ ตามป.วิ.อาญา มาตรา 182 วรรคสาม หากมีเหตุสงสัยว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟัง ให้ศาลออกหมายจับจำเลย

เมื่อได้ออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันออกหมายจับ ก็ให้ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งลับหลังจำเลยได้ และให้ถือว่าโจทก์หรือจำเลย แล้วแต่กรณี ได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว

แชท-ไลน์ ใช้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมได้

สำหรับการกู้ยืมเงินผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ นั้น หากมีมูลค่าเกิน 2000 บาทขึ้นไป สามารถใช้หลักฐานอื่นประกอบในการฟ้องร้องได้ เช่น ข้อความแชทที่ระบุการขอยืม-ยอดเงิน โดยใช้ร่วมกับหลักฐานการโอนเงิน ข้อมูลเลขบัญชีที่เราได้โอนเงินเข้า

โดยหลักฐานทั้งหมดจะใช้ได้เมื่อสามารถสรุปเป็นข้อมูลได้ว่า ใครเป็นผู้ขอยืม มีเลขบัญชีใด ตรงกันหรือไม่ และมีระบุวันเวลาที่เกิดการยืมชัดเจน ร่วมกับหลักฐานการเงิน

โดยสามารถฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ – คืนเงิน กรณีที่ผู้กู้ ระบุว่าจะคืนเงินให้เป็นงวดๆ จะมีอายุความ 5 ปี นั่บแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย

Link Source : https://news.mthai.com/social-news/740324.html

กฎหมายการยืมเงิน, การ ทำ สัญญา ยืม เงิน, ยืมเงินไม่คืน มีสัญญา, ฎีกา ยืม เงิน ไม่มี สัญญา, สัญญายืมเงินตามกฎหมายใหม่, ยืมเงินแล้วไม่คืน ผิดมาตราอะไร, แฟน ยืม เงิน ไม่ คืน แจ้ง ความ ได้ ไหม, ตัวอย่างการเขียนสัญญายืมเงินตามกฎหมายใหม่, ตัวอย่างการกรอกสัญญายืมเงิน

No comments:

Post a Comment