ประเทศไทยควรเรียนรู้อะไร จากพายุฮากิบิส พัดขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น
ประเด็นน่าสนใจ
- ในสถานการณ์ภัยพิบัติ พายุฮากิบิสพัดขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันนี้ ทำให้เราได้เห็นการเตรียมพร้อมต่างๆ
- ภาครัฐมีการให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง ทันเหตุการณ์ เข้าถึงประชาชน
- ชาวญี่ปุ่นให้ความร่วมมือ เตรียมพร้อม เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
จากเหตุการณ์พายุฮากิบิส ซึ่งเป็นพายุลูกใหญ่ที่สุดลูกหนึ่งในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น พัดเข้าถล่มประเทศญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะพัดขึ้นฝั่งในช่วงเย็นนี้ และจะส่งผลกระทบอย่างหนักหน่วงกับประเทศญี่ปุ่น
แต่ในภาพข่าว ข้อมูลต่างๆ ที่พบในการดำเนินการของทางการญี่ปุ่น ตลอดจนความพร้อมของประชาชนในประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้เราต้องหันกลับมามองในสิ่งที่เกิดขึ้นว่า
“ประเทศไทยจะพร้อมรับมือเหตุการณ์เหล่านี้ได้สักครึ่งหนึ่งของญี่ปุ่นหรือไม่?”
ซึ่งในบ้านเราเพิ่งผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสาน และจะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่เกิดภัยพิบัติดังกล่าว ในเหตุการณ์พายุฮากิบิส พัดถล่มประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทย ควรจะนำตัวอย่างและ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแนวทางในการรับมือหากเกิดภัยพิบัติเหล่านี้อย่างมาก
I. รัฐ-เอกชนประกาศเตือนภัยล่วงหน้า
หลังจากที่มีความชัดเจนว่า พายุฮากิบิส จะพัดขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น หน่วยงานภาครัฐเริ่มมีการกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง ชัดเจนให้กับประชาชน รวมถึงภาคเอกชนที่เริ่มมีการรายงานข่าวที่ชัดเจน ถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเช่น
- พายุลูกนี้ จะพัดขึ้นฝั่งเมื่อไหร่ อย่างไร
- ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีความรุนแรงมาน้อยเพียงใด
- พื้นที่ใดจะได้รับผลกระทบบ้าง มากน้อยแค่ไหน
- แต่ละพื้นที่จะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
ซึ่งในข้อมูลที่เกิดขึ้นมีขึ้นหลากหลายรูปแบบอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นข้อความแจ้งเตือน ภาพประกอบ อินโฟกราฟฟิคต่างๆ
ข้อมูลที่เป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นนั้น ต้องยอมรับว่า
“เป็นข้อมูลที่มีความถูกต้อง ชัดเจน และทันการณ์”
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลตั้งแต่ปริมาณน้ำฝน (คาดการณ์) พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ ระดับน้ำ การแจ้งเตือนต่างๆ อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นข้อมูลล่าสุดที่สามารถประเมินสถานการณ์ อพยพ ต่างๆ ได้จริง
ซึ่งที่มาของข้อมูลที่ถูกต้องมาจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ทั่วถึงในทุกๆ พื้นที่ และครบถ้วนในทุกมิติของข้อมูล ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด
II. แจ้งเตือน ประกาศต่างๆ เข้าถึง เข้าใจ ฉับไว
สิ่งหนึ่งที่ต้องชื่นชมในการทำงานของภาครัฐ คือความชัดเจนในข้อมูลที่นำเสนอ ง่าย ตรงประเด็น และมีให้ประชาชนเข้าถึงได้ทุกช่องทาง อย่างเป็นระบบ และเข้าใจได้ง่าย
แนวทางการนำเสนอหรือ สื่อสารถึงประชาชนชัดเจน โดยจะแบ่งเป็น
- ระดับกระทรวง ประกาศแจ้งเตือนในลักษณะให้ประชาชนรับรู้ ในภาพรวม มีอะไรเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ฯลฯ
- ระดับจังหวัด-เมือง ประกาศแจ้งเตือนในระดับจังหวัดให้รู้ว่า ประชาชนในพื้นที่ จำเป็นต้องรู้-ทราบ-ระวัง-เตรียมตัวอย่างไร เป็นการเฉพาะ
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนามบิน, รถไฟ ต่างเลือกนำเสนอข้อมูลของหน่วยงานให้กับประชาชนรับทราบ
ทำให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่สามารถเข้าใจได้ว่า ในพื้นที่ตนเองนั้นจะต้องติดต่อสอบถาม เช็คข้อมูลได้ตรงไหนอย่างไร
ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นระบบ ถูกจัดส่งเข้าถึงประชาชนในทุกๆ ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น ประกาศแจ้งเตือนบนหน้าเว็บไซต์, แจ้งเตือนผ่านทาง SMS ฉุกเฉินในพื้นที่, ประกาศผ่าน Social media หลักๆ ของหน่วยงานในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง, อีเมล์ส่งถึงผู้ที่เลือกรับข้อมูลเหล่านั้น ยังไม่รวมช่องทางเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินต่างๆ จนท้ายที่สุดคือ การประกาศเสียงตามสายเมื่อมีการสั่งอพยพ
ซึ่งทำให้เราได้เห็นประสิทธภาพของการสื่อสารอย่างเป็นระบบและเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างบัญชีของเมือง Twitter ในญี่ปุ่น ที่จะมีบัญชีทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการ และอัปเดต แจ้งเตือนประชาชนตลอดเวลา
อัลบั้มภาพ 2 ภาพ
III. ความเป็นเอกภาพ-วอร์รูม
หลังจากที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินทางการของญี่ปุ่น ได้มีการประกาศจัดตั้งวอร์รูมรับมือเหตุการณ์ตลอด 24 ชั่วโมงจนกว่าสถานการณ์จะเรียบร้อย
โดยนายกรัฐมนตรี “อาเบะ ชินโซ” ได้สั่งให้มีการจัดตั้งวอร์รูมรับมือเหตุการณ์ และรายงานต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ยังกำชับให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ต้องเตรียมพร้อมที่จะลุยงานตลอด 24 ชั่วโมง ห้ามหยุด ห้ามลาโดยเด็ดขาด ผ่านทางทีวีของญี่ปุ่น
ซึ่งผลจากการประกาศอย่างชัดเจนดังกล่าว ทำให้หน่วยงานทุกหน่วยลุยงานช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งการเตรียมพร้อมรับเหตุ การช่วยเหลือต่างๆ
IV. ประชาชนตื่นตัว เตรียมพร้อม แต่ไม่แตกตื่น
หลังจากที่รัฐบาลมีการประกาศเตือนภัยต่างๆ ชาวญี่ปุ่น ก็เริ่มมีการเตรียมพร้อมต่างๆ ทันที โดยไม่มีการแตกตื่น ภาพในหลายพื้นที่ที่พบเห็นคือ ภาพของชั้นวางสินค้าจำเป็นเช่น บะหมื่กึ่งสำเร็จรูป น้ำดื่ม ที่ว่างเปล่า เนื่องจากประชาชนออกมาซื้อของเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั่นเอง และไม่มีข่าวหรือภาพความวุ่นวายในการแย่งหรือกักตุนสินค้าแต่อย่างใด
Japanese consumers have spoken, #Mestemacher: They'd rather go without bread during a natural disaster than attempt to eat your weird German product. #TyphoonHagibisJapan #Tokyo #Typhoon_Hagibis #Typhoon19 #台風19 pic.twitter.com/4YiIP2ZrdJ
นอกจากจะเตรียมพร้อมในส่วนของอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ ต่างๆ แล้ว ประชาชนชาวญี่ปุ่นยังเตรียมตัวรับมือกับสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้นต่างๆ อีกด้วย เช่น การปิดประตูหน้าต่างบ้าน ด้วยกระดาษ เทปกาว เพื่อป้องกันกรณีที่มีสิ่งของถูกพัดกระแทกกระจกแตก
Some of these buildings have survived typhoons, earth quakes, fires and air raides for over 100 years. All are prepared and they will also survive No. 19 of 2019 for sure #typhoon #hagibis #Typhoon_Hagibis #typhoon19 #japan #tokyo #axelinjapan #architecture #meiji #taisho #showa pic.twitter.com/eUZkKfJfLQ
การนำผ้าใบ-ผ้ายาง ปิดปกคลุมรถยนต์ หลังคา เพื่อป้องกันสิ่งต่างๆ ปลิวกระแทกอีกด้วย ซึ่งประชาชนให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ตามคำแนะนำของ
色違いのガムテープだけど何もしないよりはイイよね⁉️#台風19号 pic.twitter.com/C1rUCIz6TV
これから上陸してくる台風19号 ニッポン放送 垣花さんの番組で情報聴いています #jolf #台風19号 pic.twitter.com/FBad1P58eW
หลังจากสถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้น ทางการจึงมีการประกาศให้อพยพ ประชาชนส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการอพยพไปยังพื้นที่ที่ทางการจัดไว้ เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติต่างๆ
V. บทสรุปที่ฝากความหวังไว้กับอนาคต
จาก 4 ประเด็นหลักๆ ที่เราได้เห็นจากประเทศญี่ปุ่นในการจัดการปัญหาในสภาวะวิกฤติอย่างเป็นระบบ จึงไม่แปลกใจว่า ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาเป็นประเทศในลำดับต้นๆ ของโลก ท่ามกลางภัยพิบัติต่างๆ ทั้งแผ่นดินไหว สึนามิ พายุ ฯลฯ
จึงถือเป็นแนวทางที่ประเทศไทยควรนำมาปรับใช้อย่างจริงจังในการรับมือกับปัญหาภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติเหล่านี้อย่างจริงจัง ซึ่งที่ผ่านมา หน่วยงานหลายต่อหลายแห่ง ลงทุนไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น แต่กลับไม่สามารถนำมาปรับใช้ หรือบูรณาการให้ได้อย่างแท้จริง
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะต้องกลับมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง
No comments:
Post a Comment