แมงมุมสีน้ำตาล พิษจาก แมงมุมกัด แรงว่า แม่หม้ายน้ำตาล
แมงมุมสีน้ำตาล พิษจาก แมงมุมกัด แรงว่า แม่หม้ายน้ำตาล
ถ้าจะพูดถึงสัตว์มีพิษที่ผู้คนเราควรระวังในช่วงนี้นั่นก็คงจะหนีไม่พ้น แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล ที่หลายๆ คนเข้าใจผิดตามที่เป็นข่าวนั่้นเอง เพราะว่าที่จริงแล้ว เจ้าแมงมุมทำพิษนั่นก็คือ แมงมุมสีน้ำตาล นั่่นเอง Men.MThai เราจะขอนำเสนอข้อเท็จจริงว่า แมงมุมสีน้ำตาล คือ อะไร และมีพิษอย่างไรนั่นเองครับ
แมงมุมสีน้ำตาล (brown recluse spider) เป็นแมงมุมที่พบได้ทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Loxosceles reclusa มีขนาดเล็กประมาณ 6-20 มิลลิเมตร (ขนาดเล็กกว่าแมงมุมแม่ม่ายดำ) ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลืองเข้ม ขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นคือด้านหลังของแมงมุมตรงช่วงศีรษะถึงอก จะมีลายสีออกดำรูปคล้ายไวโอลิน โดยด้ามจับหันไปด้านตรงข้ามกับศีรษะ จึงอาจเรียกว่า violin spider หรือ fiddleback spider มีขาเรียวยาวเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว โดยแมงมุมชนิดนี้ ตัวเมียวางไข่ ครั้งละ 50 ฟอง ใช้เวลาฝักเป็นตัวนาน 1 เดือน โตเต็มที่ในเวลา 1 ปี มีอายุอยู่ได้ 1-2 ปี ชอบอยู่ในที่มืด แห้ง และสงบ เช่นเดียวกับแมงมุมแม่ม่ายดำ กินแมลงเป็นอาหาร และจะออกจากที่อยู่อาศัยเพื่อล่าสัตว์อื่นในเวลากลางคืน โดยมันมักอาศัยอยู่ในที่มืด ห้องใต้หลังคา พบอยู่ในเสื้อผ้า ตู้เสื้อผ้า รองเท้า และเตียงนอน ซึ่งคนอาจถูกกัดได้ หากไปสัมผัสโดยบังเอิญ
อาการเมื่อถูก แมงมุมสีน้ำตาล กัด อาการที่พบอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันแล้วแต่บุคคล โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักไม่มีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่เรียกว่า sphingomyelinase D จาก แมงมุมสีน้ำตาล ถ้าโดนกัดหลายตัว หลายตำแหน่ง ปริมาณพิษก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับจะพบว่าบริเวณผิวหนังที่ถูกกัด ผู้ป่วยมักมีอาการรุนแรง เมื่อถูกกัดมักจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่มักเริ่มมีอาการปวดและคันบริเวณที่ถูกกัดหลัง 2-8 ชั่วโมง เกิดเป็นตุ่มน้ำพอง อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดตายได้ถึงร้อยละ 37 เกิดเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่ได้ถึง 25 เซนติเมตร
อาการพบเมื่อถูก แมงมุมสีน้ำตาล กัด บริเวณที่ถูกกัดมีอาการแดงเพียงเล็กน้อย แสบ ๆ คัน ๆ มีตุ่มน้ำ จนถึงเกิดเป็นแผลเนื้อตายได้ ลักษณะจำเพาะทางผิวหนังที่อพบได้คือ การพบผื่นที่มี 3 โซน (necrotic cutaneous loxoscelism) ตรงกลางมีสีม่วงคล้ำล้อมรอบด้วยบริเวณที่มีสีขาวซีดกว่าปกติ ถัดออกไปคือผิวหนังที่มีการอักเสบแดงโดยรอบ หลังจากนั้น 2-3 วัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีผื่นลุกลามจนกลายเป็นเนื้อตายหรือเกิดเป็นแผลลึกตามมาได้ อาการทางผิวหนังมักรุนแรงกว่าแมงมุมแม่ม่ายดำกัด ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ ผื่นแดง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
การรักษาเมื่อถูก แมงมุมสีน้ำตาล กัด หากถูกแมงมุมสีน้ำตาลกัด การปฐมพยาบาลเบื้องต้นประกอบด้วย การล้างแผลและการประคบน้ำแข็ง ยกบริเวณที่ถูกกัดให้สูงขึ้น ห้ามทำการนวดหรือประคบด้วยน้ำร้อนหรือการบีบรัดบริเวณแผลโดยเด็ดขาดเนื่องจากจะทำให้พิษแมงมุมกระจาย ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที โดยนำแมงมุมที่กัดไปด้วยเนื่องจากไม่มียาจำเพาะที่ใช้ในการรักษาพิษ แมงมุมสีน้ำตาล การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ แพทย์อาจพิจารณาฉีดวัคซีนกันบาดทะยัก ยาแก้ปวด แก้คัน ในรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางโลหิตวิทยา แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่น ๆ เช่น สเตียรอยด์ เป็นต้น และที่สำคัญจะต้องไปติดตามอาการทุกวันอย่างน้อยเป็นเวลา 4 วันหลังถูกกัด เพื่อติดตามอาการแผลเนื้อตายบริเวณที่ถูกกัด
No comments:
Post a Comment