คู่มือรับแผ่นดินไหวฉบับย่อ ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว
ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่แผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง จนเรื่องนี้ดูธรรมดาไปซะแล้ว วันนี้ทีนเอ็มไทยนำเรื่องน่ารู้ คู่มือรับแผ่นดินไหวฉบับย่อ ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว มาฝากเพื่อนๆ อ่านเข้าใจง่ายจริงๆ นะ
แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ในประเทศลาว
ล่าสุด (21 พ.ย. 2562) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ในประเทศลาว รับรู้ได้ถึงกรุงเทพ โดยเกิดเวลา 04.03 น. และเวลา 06.50 น. เกิดอีกครั้งหนึ่ง โดยมีความรุนแรงที่ระดับ6.4 มีความลึกประมาณ 10 กม. โดยในครั้งนี้ สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพฯ โดยจุดเกิด ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ บ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 20 กม.
และรับรู้ได้หลายพื้นที่ ตั้งแต่บริเวณภาคเหนือ ลงมาถึงบริเวณกรุงเทพ ซึ่งบริเวณผู้ที่อยู่บนตึกสูง สามารถรับรู้ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนมาก
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ news.mthai.com
คู่มือรับแผ่นดินไหวฉบับย่อ ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว
คู่มือนี้เป็นของนาย อาโอคิ เอยจิ (ผู้อำนวยการเขตเมกุโระ ประเทศญี่ปุ่น) ที่เล็งเห็นเรื่องของภัยแผ่นดินไหวจึงเขียนขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้เตรียมตัวและป้องกันหากมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ฝากไว้เป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่อยู่ในเขตของพื้นที่เสี่ยง จะได้หาวิธีป้องกันตัวเองและคนรอบข้างได้ถูกต้อง
ข้อแรก : การเตรียมความพร้อมสำหรับแผ่นดินไหว
ตรวจสอบความปลอดภัยภายในและภายนอกบ้าน
1. ตรวจสอบตัวบ้านว่าจะทนต่อแผ่นดินไหวได้หรือไม่
2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า โคมไฟแขวนไว้อย่างปลอดภัย
3. ตรวจสอบกำแพงคอนกรีตรอบๆ บ้าน
4. ป้องกันเฟอร์นิเจอร์ล้มลงมา
ข้อสอง : จะต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว
สิ่งที่ควร – ไม่ควรปฏิบัติ ระหว่างแผ่นดินไหวและหลังแผ่นดินไหว
1. มองหาที่ปลอดภัยก่อน – ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว จนถึงหลังจากแผ่นดินไหวสงบ 2 นาที
1.1 หากรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหว ให้รีบหาที่ปลอดภัยหลบเป็นอันดับแรก เช่นหลบใต้โต๊ะหรือสิ่งที่สามารถป้องกันสิ่งของที่จะตกใส่
1.2 พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องขายสินค้าอัติโนมัติ หรือกำแพงคอนกรีดบล็อค กำแพงที่คิดว่าปลอดภัย อาจจะไม่ปลอดภัยจริงก็ได้
1.3 อย่าตื่นตระหนกวิ่งออกจากบ้าน เพราะอาจจะมีสิ่งของตกลงมาและทับคุณได้ ระวังกระจกแตก แผ่นกระเบื้อง หรือป้ายต่างๆที่จะตกลงมา
1.4 ให้เปิดประตูหรือหน้าต่างค้างไว้ เพื่อที่จะได้แน่ใจว่ามีทางหนี ระวังไม่ให้ตัวเองติดอยู่ในตีกสูง
2.ดับไฟ และป้องกันไฟไหม้ – หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 2 – 5 นาที
2.1 รีบดับไฟทุกชนิดโดยเร็ว พยายามฝึกให้เป็นนิสัย ทันทีที่รู้ว่าเกิดแผ่นดินไหวแม้จะไหวเพียงเล็กน้อยให้รีบปิดเตาแก๊สทันที
2.2 ตะโกนว่า “แผ่นดินไหว ปิดแก๊ส” และปิดแก๊สทันที
2.3 หากมีไฟไหม้เกิดขึ้นให้ตะโกนบอกคนอื่นๆ และช่วยกันดับไฟแต่เนิ่นๆ
คุณมีโอกาสดับไฟ 3 ครั้ง
1. เมื่อรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหว
2. เมื่อแผ่นดินไหวสงบ
3. เมื่อไฟกำลังจะเริ่มไหม้
*อย่าตื่นตระหนกเมื่อเกิดไฟไหม้ เข้ารับการฝึกอบนมการใช้อุปกรณ์ดับไฟ อีกทั้งควรสำรองน้ำเอาไวใช้ (ให้เต็ม) อยู่เสมอ เพื่อใช้ดับไฟ*
ข้อสาม : สิ่งที่ควรทำหลังจากเกิดแผ่นดินไหว
เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว อันดับแรกต้องป้องกันตัวเองก่อน แล้วจึงช่วยดูแลครอบครัวและเพื่อนบ้าน ปกติแล้วคนเราสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ 72 ชั่วโมงเมื่อติดอยู่ในซากปรักหักพัง ดังนั้นการป้องกันการเกิดไฟไหมเจึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก จะเริ่มการช่วยชีวิตได้เมื่อสถานการณ์ปลอดภัยแล้วเท่านั้น พยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พยายามเต็มที่ในการดับไฟ ช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ใต้้ซากปรักหักพัง และบาดเจ็บ
1. หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 5-10 นาที – หลังจากดับไฟเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบสภาพของบ้าน
– ระวังเหยียบเศษแก้วที่ตกแตก
– ตรวจดูความปลอดภัยของบ้านคุณและเพื่อนบ้าน ช่วยเหลือคนชราและคนป่วย
– รับฟังข้อมูลที่ถูกต้อง และปฏิบัติตาม อย่าเชื่อข่าวลือต่างๆ และอย่าเผยแพร่ต่อ
2. 10 นาที ถึงครี่งวันหลังเกิดแผ่นดินไหว
– ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กับเพื่อนบ้าน หากอพยพออกจากบ้านให้ปอดแก๊สและไฟให้หมด สับเบรกเกอร์ลง
3. ครึ่งวันถึงสามวัน หลังแผ่นดินไหว
– เตรียมอาหาร/น้ำสำหรับ 3 วัน และให้เพียงพอสำหรับสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว แก๊ส น้ำ และไฟอาจถูกตัด จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อม
นอกจากนี้เราควรเตรียมความพร้อม ซักซ้อม ก่อนที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวไว้ก่อนนะคะ อย่างเช่น
1. พูดคุยกับคนในครอบครัวเพื่อนัดแนะสถานที่นัดพบ และหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคน นัดแนะว่าใครจะช่วยดูแลใคร คนชรา – เด็กเล็ก หรือใครจะเป็นคนดับไฟ
2. ระวังการบาดเจ็บจากเศษแก้วที่ตกแตก ควรเตรียมรองเท้าแตะหรือรองเท้าผ้าใบไว้เพื่อป้องกันเศษแก้ว , ติดฟิล์มป้องกันกระจกแตกที่หน้าต่าง
3. ทำความรู้จักเพื่อนบ้าน และช่วยเหลือกันในชีวิตประจำวัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เข้าร่วมการซ้อมป้องกันภัย, ทำความคุ้นเคยกับพื้นที่หลับภัย
4. เตรียมพร้อมเพื่อการอยู่รอด เตรียมสิ่งของและอุปกรณ์สำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในกรณีฉุกเฉิน เช่น อาหาร ไฟฉาย เป็นต้น
ที่ทีนเอ็มไทยนำข้อมูลมาฝากนี้ก็เป็นเพียง คู่มือรับแผ่นดินไหวฉบับย่อ เบื้องต้นเท่านั้น แต่หวังว่าจะเป็นประโยชนกับเพื่อนๆ ทุกคนนะคะ นอกจากนี้เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูข้อมูล รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiembassy.jp/rte3/images/stories/_PDF/earthquake.pdf ค่ะ
เรียบเรียงเขียนโดย teen.mthai.com
ข้อมูลจาก www.thaiembassy.jp
คำแนะนำเบื้องต้น สำหรับนักท่องเที่ยวไปญี่ปุ่น
จากประสบการณ์ของการเคยเป็นผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิใหญ่ญี่ปุ่นปี 2011 ขอแนะนำตามนี้ ถ้าไม่ไกลที่พักเกินไป และเช็คแล้วว่าสายรถไฟที่เราจะขึ้นหยุดทำการแน่ๆ อย่าเสียเวลารอรถไฟหรือบัสเลยค่ะ เพราะตัวเองเคยรอ 3-4 ชม. มาแล้ว แล้วก็ไม่วิ่ง ไม่มา สุดท้ายเดินเท้ากลับบ้าน 4 ชั่วโมงค่ะ
-เมื่อติดต่อบอกสถานการณ์ความปลอดภัยให้พ่อแม่ทราบเรียบร้อยแล้ว ให้เซฟแบทมือถือไว้สำหรับการดูแผนที่เพื่อเดินกลับที่พักและสำหรับการติดตามข่าวที่จำเป็นค่ะ เพราะเราไม่รู้เลยว่า ที่พักเราจะน้ำไหลหรือไฟดับเมื่อไหร่
– ถ้าอยู่ในที่ๆสะดวกซื้อของได้ ให้ซื้อของกิน น้ำดื่ม ไว้ประมาณหนึ่ง อื่นๆที่แนะนำคือมาสก์ปิดปากค่ะ *แต่ถ้าโรงแรมจัดเตรียมให้ก็ไม่ต้องค่ะ
– สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่พาลูกเล็กมา หาซื้อทิชชู่เปียก และผ้าอ้อมสำเร็จรูปไว้ประมาณหนึ่งค่ะ ถ้าน้องยังเล็กมากเพิ่งหัดทานข้าว ในร้านสะดวกซื้อมีข้าวต้มขายค่ะ เปิดถุงแล้วตักกินได้เลย (เดี๋ยวจะแปะรูปไว้ในคอมเม้นท์แรกนะคะ)
– ถ้ามีกระเป๋าถุงหรือเป้ ให้แยกของใช้ที่จำเป็นจริงๆอย่างพาสปอร์ต / เอกสารที่พักและการเดินทาง / กระเป๋าเงิน / น้ำดื่ม / อาหารลูก / นมผง (เตรียมน้ำร้อนจากเครื่องต้มในที่พักเทใส่กระบอกน้ำร้อนเตรียมไว้เลยค่ะ) เผื่อกรณีที่อาจจะต้องวิ่งหรือโดนอพยพไปไหนกระทันหัน ไม่สามารถลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ไปด้วยได้ ถ้าปลอดภัยดี ไม่มีอะไร ก็แค่ยัดกลับลงไปกับกระเป๋าใหญ่เท่านั้นเอง
ย้ำอีกที โปรดใช้วิจารณญาณตามสถานการณ์ที่ตัวเองอยู่นะคะ อะไรคิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้อง ไม่ได้อยากให้ตื่นตกใจ แต่อยากให้เฝ้าระวังอย่างรอบคอบค่ะ ความปลอดภัยสำคัญที่สุด ขอให้ทุกคนปลอดภัยนะคะ ทั้งผู้ที่อยู่อาศัยอยู่แล้วและผู้ที่เดินทางมาเที่ยว ถึงจะทำให้ทริปสะดุดลง แต่สิ่งที่เรายังรักษาไว้ได้ คือชีวิตของเราค่ะ
เครดิตที่มา : แม่บ้านญี่ปุ่นเลี้ยงลูก
หากเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถติดต่อได้ตามรายละเอียดดังนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (+81) 03-5789-2433 ฉุกเฉินติดต่อ emergency@tsaj.org
ที่มาข้อมูลจากเพจ Thai Students’ Association in Japan under the Royal Patronage
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
15 เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประวัติศาตร์ ที่โลกจดจำ
No comments:
Post a Comment