Sunday, December 8, 2019

รู้จักที่มาของอักษรเกาหลี "ฮันกึล" ที่ถูกประดิษฐ์โดย พระเจ้าเซจงมหาราช

รู้จักที่มาของอักษรเกาหลี "ฮันกึล" ที่ถูกประดิษฐ์โดย พระเจ้าเซจงมหาราช

ฮันกึล (한글, Hangeul, Hangul) เป็นชื่อเรียกตัวอักษรของเกาหลีที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้แทนตัวอักษรฮันจา ฮันจานั้นหมายถึงตัวอักษรจีนที่ใช้ในภาษาเกาหลีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แทนโดยพระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕)

อักษรเกาหลี “ฮันกึล” ที่ถูกประดิษฐ์โดย พระเจ้าเซจงมหาราช

 พระเจ้าเซจง, พระเจ้าเซจง หนัง, พระเจ้าเซโจ, สิ่งประดิษฐ์ของพระเจ้าเซจง, เซจงมหาราช พากย์ไทย, พระเจ้ามุนจง, พระเจ้าแทจง, อนุสาวรีย์พระเจ้าเซจง, พระเจ้า เซ จง ซี รี่ ย์ เกาหลี

อักษรฮันกึล ได้ประดิษฐ์โดยพระเจ้าเซจง (พ.ศ. 1940 – 1993 ครองราชย์ พ.ศ. 1961 – 1993) กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โชซ็อนของเกาหลี แต่นักวิชาการบางคนตั้งข้อสังเกตว่าการประดิษฐ์อักษรเป็นงานที่ซับซ้อน อาจเป็นฝีมือของกลุ่มบัณฑิตสมัยนั้นมากกว่า แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงว่าบัณฑิตในสมัยนั้นต่างคัดค้านการใช้ตัวอักษรใหม่แทนตัวอักษรฮันจา ดังนั้น จึงได้มีการบันทึกว่าอักษรฮันกึลเป็นผลงานของพระเจ้าเซจงแต่เพียงพระองค์เดียว นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าพระญาติของพระเจ้าเซจองได้มีส่วนร่วมอย่างลับ ๆ ในการประดิษฐ์อักษร เพราะประเด็นนี้ในสมัยนั้นเป็นข้อขัดแย้งระหว่างบัณฑิตอย่างมาก

อักษรฮันกึลได้ประดิษฐ์เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) หรือ มกราคม ค.ศ. 1444 และถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 1989 (ค.ศ. 1446) ในเอกสารที่ชื่อว่า “ฮุนมิน จองอึม”

 พระเจ้าเซจง, พระเจ้าเซจง หนัง, พระเจ้าเซโจ, สิ่งประดิษฐ์ของพระเจ้าเซจง, เซจงมหาราช พากย์ไทย, พระเจ้ามุนจง, พระเจ้าแทจง, อนุสาวรีย์พระเจ้าเซจง, พระเจ้า เซ จง ซี รี่ ย์ เกาหลี

หรือแปลว่า เสียงอักษรที่ถูกต้องเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน ซึ่งในวันที่ 9 ตุลาคม ของทุกปี ทางการเกาหลีใต้ได้ประกาศให้เป็น วันฮันกึล ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ส่วนในเกาหลีเหนือเป็นวันที่ 15 มกราคม

พระเจ้าเซจงมหาราชทรงให้เหตุผลของการประดิษฐ์ตัวอักษรใหม่ว่า อักษรจีนมีไม่เพียงพอที่จะเขียนคำเกาหลี และอักษรจีนนั้นเขียนยากเรียนยาก ทำให้ชาวบ้านรู้หนังสือน้อย ในสมัยนั้น เฉพาะชายในชนชั้นขุนนาง (ยังบัน) เท่านั้นที่มีสิทธิเรียนและเขียนตัวอักษรฮันจาได้ การประดิษฐ์และใช้ตัวอักษรใหม่แทนตัวอักษรเดิมนี้ถูกต่อต้านอย่างมากจากเหล่าบัณฑิต ซึ่งเห็นว่าตัวอักษรฮันจาเท่านั้นที่เป็นตัวอักษรที่ถูกต้องชอบธรรมที่สุด

 พระเจ้าเซจง, พระเจ้าเซจง หนัง, พระเจ้าเซโจ, สิ่งประดิษฐ์ของพระเจ้าเซจง, เซจงมหาราช พากย์ไทย, พระเจ้ามุนจง, พระเจ้าแทจง, อนุสาวรีย์พระเจ้าเซจง, พระเจ้า เซ จง ซี รี่ ย์ เกาหลี

กษัตริย์เซจงและนักปราชญ์ของพระองค์นำแนวคิดการประดิษฐ์อักษรใหม่มาจากอักษรมองโกเลียและอักษรพัก-ปา ทิศทางในการเขียนในแนวตั้งจากขวาไปซ้ายได้อิทธิพลจากอักษรจีน หลังการประดิษฐ์อักษรเกาหลีชาวเกาหลีส่วนใหญ่ยังเขียนด้วยอักษรจีน หรืออักษรระบบ Gukyeol หรือ Idu อักษรเกาหลีใช้เฉพาะชนชั้นระดับล่าง เช่นเด็ก ผู้หญิง และผู้ไร้การศึกษา ในช่วง พ.ศ. 2400 – 2500 การผสมผสานระหว่างการเขียนที่ใช้อักษรจีน (ฮันจา) และอักษรฮันกึลเริ่มเป็นที่นิยม ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ฮันจาถูกยกเลิกในเกาหลีเหนือ เว้นแต่การใช้ในตำราเรียนและหนังสือพิเศษบางเล่ม เมื่อราว พ.ศ. 2510 – 2512 จึงมีการฟื้นฟูการใช้ฮันจาอีกครั้งในเกาหลีเหนือ ในเกาหลีใต้มีการใช้ฮันจาตลอดมา วรรณคดีเกาหลีสมัยใหม่ส่วนใหญ่ และการเขียนที่ไม่เป็นทางการใช้ฮันกึลทั้งหมด แต่งานเขียนทางวิชาการและเอกสารราชการใช้ฮันกึลควบคู่กับฮันจา

ที่มาภาพและข้อมูลจาก @iseoulu, อักษรฮันกึล

Link Source : https://teen.mthai.com/variety/137744.html

พระเจ้าเซจง, พระเจ้าเซจง หนัง, พระเจ้าเซโจ, สิ่งประดิษฐ์ของพระเจ้าเซจง, เซจงมหาราช พากย์ไทย, พระเจ้ามุนจง, พระเจ้าแทจง, อนุสาวรีย์พระเจ้าเซจง, พระเจ้า เซ จง ซี รี่ ย์ เกาหลี

No comments:

Post a Comment