Tuesday, December 24, 2019

11 สิ่งปลูกสร้างที่ คนไทย ได้เห็นในสมัย ในหลวง รัชกาลที่ 9

11 สิ่งปลูกสร้างที่ คนไทย ได้เห็นในสมัย ในหลวง รัชกาลที่ 9

ในแต่ละยุค แต่ละสมัย ย่อมมีวิวัฒนาการ สิ่งปลูกสร้าง ต่างๆ สำหรับใช้สอยประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างสิ่งนั้นๆ ขึ้น อย่างเช่น เสาชิงช้า ถูกสร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สถานีรถไฟหัวลำโพง ถูกสร้างในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากประเทศไทยเริ่มมีการเดินทางโดยรถไฟเป็นครั้งแรก แล้วในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ล่ะ เราคนไทยได้เห็นสิ่งปลูกสร้างอะไรใหม่ๆ ที่นำพาความเจริญ หรือ สร้างชื่อเสียงระดับโลกมาแล้วบ้าง ลองมาย้อนดูกันค่ะ

พ.ศ.2530 : ตึกใบหยก 1

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

ตั้งอยู่เลขที่ 130 ถนนราชปรารภ มีชั้นทั้งหมด 43 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2530 6 ปี ก่อนเริ่มสร้างตึกใบหยก 2 และเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ก่อนจะถูกทำลายสถิติโดยตึกใบหยก 2 ตัวตึกมีจุดเด่นคือยอดตึกมีลักษณะคล้ายหลังคาบ้าน ตัวตึกทาสีรุ้ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ โรงแรม ใบหยกสวีท

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2540 : ตึกช้าง

คือ ตึกระฟ้าแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน และถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร ในเขตธุรกิจทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร และเป็นอาคารที่มีชื่อเสียงในเอกลักษณ์ของช้าง ตึกแห่งนี้ คือ ความร่วมมือระหว่าง ศ.ดร.อรุณ ชัยเสรี และสถาปนิก นายองอาจ สาตรพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เป็นอาคารสูง 32 ชั้น สูง 102 เมตร (335 ฟุต) และสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ตึกช้างได้รับรางวัลอันดับ 4 สำหรับตึกระฟ้าที่มีเอกลักษณ์ที่สุดในโลก 20 อันดับ โดย CNNgo ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตึกช้างมีแนวคิดการออกแบบมาจากพื้นฐานที่ว่า อาคารนี้เป็นอาคารประเภทอาคารสำนักงานและพักอาศัยรวม เป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ รูปลักษณ์ของอาคารถูกบังคับตามพื้นที่ดินที่มีลักษณะยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ด้วยกฎหมายและความต้องการของเจ้าของโครงการ คือ ศ.ดร.อรุณ โดยเริ่มแรกอาคารถูกแบ่งออกเป็น 3 ทาวเวอร์ เนื่องจากต้องการพื้นที่ขายมากจึงจำเป็นต้องเชื่อม 3 ทาวเวอร์เข้าด้วยกัน แต่ด้วยข้อกำหนดเรื่องพื้นที่เปิดโล่ง จึงทำให้เชื่อมอาคารได้เพียงส่วนบนและเกิดช่องว่างขนาดใหญ่ 2 ช่อง ต่อมา ศ.ดร.อรุณ เห็นว่าอาคารมีลักษณะคล้ายช้างและส่วนตัวท่านชื่นชอบช้างอยู่แล้ว อาจารย์องอาจจึงออกแบบตกแต่งส่วนของอาคารเพิ่ม เพื่อให้เหมือนช้างจริงๆ

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2541 : ตึกใบหยก 2

เป็นตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นอาคารที่สูงเป็นลำดับสองของประเทศไทย และเคยเป็นอาคารที่เคยสูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ประตูน้ำ ถนนราชปรารภ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตึกใบหยก 2 เป็นอาคารในเครือใบหยก ซึ่งมีพันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานและกรรมการผู้จัดการ

ตึกใบหยก 2 ก่อสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2540 โรงแรมเริ่มเปิดให้บริการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 และในปีเดียวกันมีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวีออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 ความสูง 54 เมตร (150 ฟุต) บนยอดตึก และหลังจากนั้น สทท. กรมประชาสัมพันธ์ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 / สิงหาคม 2547 Modernine TV ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 / มีนาคม 2548 ช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่ง TV เป็นระบบ ยูเอชเอฟ ช่อง 32 ออกอากาศรวมกันโดยใช้เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวี ออกอากาศ

อาคารมีความสูง 304 เมตร (994 ฟุต) มีทั้งสิ้น 88 ชั้น (ถ้าไม่นับชั้นใต้ดินจะมี 85 ชั้น) พื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ชื่อ ใบหยก สกาย

  • ชั้น 18 เป็นล็อบบี้โรงแรม
  • ตั้งแต่ชั้น 22 ถึง 74 เป็นห้องพักโรงแรม มีทั้งหมด 673 ห้อง
  • ชั้น 18, 76, 78, 79, 81 และ 82 เป็นห้องอาหาร ชั้น 83 เป็น รูฟท็อป บาร์
  • ชั้น 77 และ 84 เป็นชั้นสำหรับชมวิว โดยที่ชั้น 84 เป็นดาดฟ้าหมุนได้รอบ ทั้งสองชั้นนี้เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 10.30 ถึง 22.00 น.
  • ลิฟต์โดยสารอาคารนี้มีความเร็วสูงสุด 4.0เมตร/วินาที(ส่วนพื่นที่โรงแรม)ความเร็วสูงสุด 2.1เมตร/วินาที(ส่วนพื้นที่พลาซ่าและลานจอดรถ)

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2541 : ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี เป็นทางยกระดับ กว้าง 4 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร คร่อมและคู่ขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จากสี่แยกอรุณอมรินทร์ถึงย่านพุทธมณฑล สาย 2 สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร ที่ส่งผลต่อไปถึงถนนราชดำเนินและถนนหลานหลวง รวมทั้งฝั่งธนบุรีที่ส่งผลถึงถนนบรมราชชนนีและถนนย่านชานเมือง

ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระประชวรและเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้ง แต่ละครั้งนาน 2-3 เดือน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ ได้ทอดพระเนตรเห็นปัญหาจราจรติดขัดครั้งละนานๆ ในบริเวณดังกล่าว เช่น มีรถฝั่งพระนครจำนวนมากรอขึ้นสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเพื่อออกนอกเมืองไปตามถนนบรมราชชนนีสู่อำเภอนครชัยศรี แต่การระบายรถทำได้ช้าส่งผลให้รถติดตลอดถนนราชดำเนินไปจนถึงถนนหลานหลวง และบางครั้งส่งผลกระทบไปถึงถนนสายหลักอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ฝั่งธนบุรีบริเวณสะพานข้ามสี่แยกอรุณอมรินทร์และสี่แยกบรมราชชนนี (สี่แยกจรัญสนิทวงศ์) มีระยะทางใกล้กันมาก ทำให้รถที่ลงจากสะพานอรุณอมรินทร์เบี่ยงเข้าช่องซ้ายไปยังถนนบรมราชชนนีได้ลำบาก ปริมาณรถจึงคับคั่งและติดขัด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรและเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้ง ระหว่างประทับรับการรักษา ได้มีพระราชดำริหลากหลายประการเกี่ยวกับปัญหาจราจร รวมทั้งการสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายถนนจตุรทิศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้สร้างทางคู่ขนานยกระดับคร่อมเหนือสะพานข้ามสี่แยกอรุณอมรินทร์และสะพานข้ามสี่แยกบรมราชชนนี เพื่อให้การจราจรคล่องตัวยิ่งขึ้น ช่วยระบายรถออกนอกเมืองได้เร็วที่สุด บรรเทาปัญหาจราจรที่ติดขัดในถนนราชดำเนินต่อเนื่องถึงถนนหลานหลวง และได้พระราชทานแผนผังลายพระหัตถ์แก่กรุงเทพมหานครนำไปศึกษาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2538 มีพระราชประสงค์ให้กรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจราจรร่วมมือกัน เช่น กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาฉายภาพอธิบดีกรมทางหลวง (นายศรีสุข จันทรางศุ) และปลัดกรุงเทพมหานครที่ยืนคู่กัน ณ บริเวณ Joint โดยหลังจากเสด็จพิธีตัดริบบิ้นแถบแพรเปิดทางแล้ว ทรงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯไปตามทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี

หลังจากที่โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีแล้วเสร็จ และเปิดดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยระบายการจราจรจากพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร ผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สู่ถนนบรมราชชนนี ถนนสิรินธร ทางหลวงพิเศษสายบางกอกน้อย-นครชัยศรี ให้สามารถสัญจรไปมาด้วยความสะดวก รวดเร็วและมีความปลอดภัยยิ่งขี้น เนื่องจากมีช่องจราจรรองรับถึง 16 ช่องจราจร และเพิ่มความคล่องตัว ให้กับยานพาหนะที่เดินทางสู่ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ชานเมืองใกล้เคียง

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2542 : รถไฟฟ้า บีทีเอส

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (ลำลูกกา-บางปู-ยศเส-บางหว้า-ตลิ่งชัน-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ) (อังกฤษ: Elevated Train in Commemoration of HM the King’s 6th Cycle Birthday) หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542โดยการซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสรายเที่ยวในปัจจุบัน ยังคงต้องมีการแยกจุดแลกเหรียญและเครื่องให้บริการซื๋อตั๋วอัตโนมัติด้วยเหรียญ

รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการ 2 สาย คือ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 1 หรือ สายสุขุมวิท (สายสีเขียวอ่อน ระยะทาง 17 กม. เมื่อแรกเปิดให้บริการ และอีก 5.25 กม. สำหรับส่วนต่อขยาย) และ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 2 หรือ สายสีลม (สายสีเขียวเข้ม ระยะทาง 6.5 กม. เมื่อแรกเปิดให้บริการ และอีก 8.17 กม. สำหรับส่วนต่อขยาย)

โดยมีสถานีทั้งหมด 34 สถานี เชื่อมต่อทั้งสองสายที่สถานีสยาม และรวมระยะทางทั้งสิ้น 36.92 กม. ใน พ.ศ. 2555 รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาได้บริการสายสุขุมวิทเชื่อมสายสีลมโดยเดินทางจากสถานีหมอชิตไปยังสถานีสยามและเดินทางต่อไปยังสถานีตลาดพลู

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย) อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2547

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2547 : รถไฟฟ้ามหานคร MRT รถไฟฟ้ามหานคร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนอกเหนือไปจากระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่น ได้แก่ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์- บางซื่อ ว่า “เฉลิมรัชมงคล”มีความหมายว่า “งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา”

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2545 : สะพานพระราม 8

เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สะพานนี้เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระองค์มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ

สะพานพระราม 8 จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และบนสะพานกรุงธน อีก 20% และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมือง โดยเริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 7:00 น.

สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และความลาดชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งกระบวนพยุหยาตราชลมารค

การรับน้ำหนักของสะพาน ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ 28 คู่ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ และใช้สายเคเบิลระนาบเดี่ยว 28 เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาสะพานบนฝั่งธนบุรี เคเบิลแต่ละเส้นประกอบด้วยสลิงตั้งแต่ 11-65 เส้น เมื่อเกิดปัญหากับเคเบิล สามารถขึงหรือหย่อนได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรเหมือนสะพานพระราม 9 เนื่องจากเคเบิลแต่ละเส้นใช้สลิง ภายในซึ่งเป็นขดลวดใหญ่ทำให้ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมยากกว่า อีกทั้งสายเคเบิลของสะพานพระราม 8 ยังมีสีเหลืองทอง สีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อสะท้อนแสงจะส่องประกายสวยงาม โดยเฉพาะยามค่ำคืน

สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ยาวติดอันดับ 5 ของโลก รองจากประเทศเยอรมนีซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน และประเทศเนปาล โดยนับจากความยาวช่วงของสะพาน ส่วนสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นสะพานขึงตัวแรกแต่เป็นแบบสมมาตร เพราะมี 2 เสา ถือว่าอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก โดยนับความยาวช่วงของสะพานได้ 450 เมตร

ความโดดเด่นสวยงามที่เกิดขึ้น ผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย ๆ จากแนวคิดในการสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในหลวงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ “พระราชลัญจกร” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม

การออกแบบกำหนดทิศทางของสะพานและพระบรมราชานุสรณ์ ได้ออกแบบให้ประจวบเหมาะสัมพันธ์กับธรรมชาติวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในวันที่ 21 และ 22 ธันวาคม ของทุกปี โดยในเวลาเช้ามืดดวงอาทิตย์โผล่เด่นพ้นขอบฟ้าขึ้นตรงเส้นกลางถนนบนสะพานด้านทิศตะวันออก และขึ้นตรงหน้าพระบรมราชานุสรณ์ ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เสมือนเป็นมาตรที่บ่งบอกทิศทางการโคจรเป็นวงรี วกกลับของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบในระนาบ 2 มิติตามวิถีคิดในอดีตกาล

  • ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสะพานเน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างของสะพานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ในส่วนสะพานเสาสูงรูปตัว Y คว่ำ เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำหน้าที่หิ้วส่วนโครงสร้างสำคัญอื่น ๆ ของสะพาน ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ ได้ออกแบบโดยใช้เค้าโครงมโนภาพของเรือนแก้ว
  • ราวกันตก ซึ่งทำจากโลหะออกแบบเป็นลวดลายที่วิจิตรและอ่อนช้อย จำลองมาจากดอกบัวและกลีบบัวเสาโครงสร้างใต้แผ่นพื้นตกแต่งด้วยลวดลาย ที่จำลองจากดอกบัวใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงลงสู่ผิวจราจรใต้ทางยกระดับ ช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณใต้ทางยกระดับและประหยัดไฟฟ้าในเวลากลางคืน
  • บริเวณด้านล่างซึ่งเป็นฐานของเสาถูกพัฒนาเป็นสวนสาธารณะหรือสวนหลวงพระราม 8 ซึ่งมีก่อสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ 8 ที่ใหญ่กว่าขนาดพระองค์จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเปิดพระบรมรูปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555[2]

สิ่งพิเศษสุดของสะพานพระราม 8 ที่สะพานอื่นในกรุงเทพมหานครยังไม่มีก็คือ ที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจก ลักษณะคล้ายดอกบัว สูงจากพื้นดินถึง 165 เมตร หรือสูงเท่าตึก 60 ชั้น พื้นที่ 35 ตารางเมตร จุคนได้ครั้งละเกือบ 50 คน ซึ่งจะเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไปด้วย เนื่องจากโครงสร้างเสาสูงเป็น แบบตัว Y คว่ำการขึ้นลงจุดชมทิวทัศน์จึงต้องติดตั้งลิฟต์ทั้งในแนวเฉียงและแนวดิ่ง โดยเป็นแนวเฉียงจากพื้นดิน 80 เมตรก่อน จากนั้นจึงเป็นแนวดิ่งอีก 155 เมตร แต่บรรทุกได้เที่ยวละประมาณ 5 คน ใช้เวลาขึ้น-ลง 2-3 นาที นอกจากนี้ยังมีลิฟต์ธรรมดาอยู่คนละด้านเพื่อใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลและตรวจตราสะพาน

อนึ่ง สะพานพระราม 8 ปรากฏในด้านหลังของธนบัตร 20 บาท แบบ 15 ซึ่งอยู่เบื้องหลังพระบรมสาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2549 : สะพานภูมิพล หรือชื่อเดิม สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนกาญจนาภิเษก ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องการจราจร ทางด้านเหนือหรือ “สะพานภูมิพล 1” เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ “สะพานภูมิพล 2” เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนหน้านั้นได้เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549

ในวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอังสนาของกองทัพเรือ ทรงทำพิธีเปิดสะพานภูมิพลและประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ณ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยงบประมาณของกรมทางหลวงชนบท ตามแบบเดิมจะเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ติดปัญหาด้านงบประมาณจึงปรับเป็นรูปแบบสะพาน วิศวกรผู้ออกแบบ พอลเล กุสตาฟสันส์ ชาวสวีเดนได้เลือกรูปแบบสะพานขึงเนื่องจากข้อกำหนดว่าตัวสะพานต้องสูงกว่าระดับน้ำ ไม่น้อยกว่า 50 เมตร ลักษณะโครงสร้างสถาปัตยกรรมมีรูปร่างเพรียว เพื่อความประหยัด ผู้ออกแบบกำหนดให้ระหว่างสะพานทั้งสองช่วง มีลักษณะคล้าย หัวแหวน โดยออกแบบให้มีลักษณะคล้ายพระธำมรงค์ ถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อเปิดใช้สะพานใหม่ ๆ ในปี พ.ศ. 2549 สะพานเคยมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม” โดยเข้าใจผิดว่าเป็นนามพระราชทาน จนกระทั่งนายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานภูมิพล”

ความพิเศษของสะพานนี้ คือ ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างเพียง 4 เดือนเท่านั้น จากกำหนดเดิม 6 เดือน ซึ่งบันทึกในสถิติโลกว่า เป็นการสร้างสะพานขึงคู่ที่สร้างเร็วที่สุดในโลก

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

พ.ศ. 2549 : สนามบินสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 และทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553

ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า “แผ่นดินทอง” เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 ใช้แทนชื่อเดิม คือ “หนองงูเห่า” และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545

ความพิเศษของ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คือ มีหอควบคุมที่สูงเป็นอับดับสองของโลก (132.2 ม.) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก (563,000 ม.²) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมง และผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี) นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงพิเศษที่ทันสมัย ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ด สายการบินหลายแห่ง ได้แก่ การบินไทย การบินไทยสมายล์และบางกอกแอร์เวย์ ได้เลือกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจในบรรยากาศประเทศไทย ด้วยการสะท้อนความงามของศิลปะและวัฒนธรรมไทย เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 ตน ซึ่งเป็นตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลองของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย เป็นต้น

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น “ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ” และยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำลายสถิติโลกในหลายประการ ได้แก่

-มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร

-ล็อบบี้ของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง เป็นบริเวณล็อบบี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ถึง 17 ไร่

-อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยเป็นอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่ถูกบันทึกว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในการก่อสร้างครั้งเดียว โดยมีพื้นที่ใช้สอยราว 563,000 ม.² แต่ในปัจจุบัน สถิติดังกล่าวตกเป็นของอาคารผู้โดยสารที่ 3 ของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยราว 1,500,000 ม.

พ.ศ. 2553 : รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ARL

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

เส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบทางคู่ ยกระดับขนานไปตามแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก มีสถานีรายทางจำนวน 8 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไท, สถานีราชปรารภ, สถานีมักกะสัน (สถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง), สถานีรามคำแหง, สถานีหัวหมาก, สถานีบ้านทับช้าง, สถานีลาดกระบัง และจะตีโค้งแล้วลดระดับลงไปยังอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อเข้าสู่สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร

โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเดินรถในสองรูปแบบ คือรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายซิตี) ตัวรถคาดสีน้ำเงิน คิดค่าโดยสายเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท ตามระยะทาง โดยจะรับ-ส่งผู้โดยสารในทุก ๆ สถานีตลอดรายทาง และในรูปแบบรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายเอ็กซ์เพรส) ตัวรถคาดสีแดง คิดค่าโดยสารเที่ยวละ 150 บาทต่อคน วิ่งตรงจากสถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง (City Air Terminal) หรือสถานีมักกะสัน ถึงสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยไม่จอดที่สถานีใด ๆ ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาทีต่อเที่ยว

รถไฟฟ้าทั้งสองสาย วิ่งอยู่บนทางยกระดับคู่เส้นเดียวกัน โดยมีการสับหลีกและควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบรถด่วนสามารถวิ่งได้ต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงตรงสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้เริ่มทดสอบการให้บริการ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พ.ศ. 2559 : ตึก มหานคร มหานคร เป็นตึกระฟ้าในรูปแบบอาคารประเภทใช้ประโยชน์ผสมผสาน ตั้งอยู่บริเวณสีลมและสาทรติดกับสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี ซึ่งเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ ออกแบบให้เสมือนโอบล้อมด้วยริบบิ้นสามมิติหรือ พิกเซล เป็นอาคารกระจกทั้งหลัง สร้างสรรค์โดยบริษัทสถาปนิกในกลุ่มบริษัท บูโร โอเล่อ เชียเรน กรุ๊ป โดยได้รับใบอนุญาตจากสภาสถาปนิกไทย

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

ณ เวลานี้ได้เป็นเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย ด้วยความสูง 314.2 เมตรจำนวน 77 ชั้นประกอบไปด้วยส่วนโรงแรม ร้านค้าปลีก และส่วนห้องชุดพักอาศัยโดยกลุ่มริทซ์-คาร์ลตัน จำนวน 209 หน่วย โดยราคาของห้องชุดดังกล่าว ราคาเฉลี่ย 3.5 แสนบาท/ตร.ม. เริ่มต้นที่ 32 ล้านบาทไปจนถึง 300 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอาคารชุดพักอาศัยที่มีราคาแพงที่สุดในกรุงเทพมหานคร ชั้น 74-77 จะเปิดให้คนภายนอกเข้าชม เป็นจุดชมวิว 360 องศา

โครงการมหานครได้เปิดตัวต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2552 ด้วยการออกแบบร่วมกันของบริษัทเพซ ดีเวลลอปเมนท์ และอินดัสเทรียล บิลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ไอบีซี) โดยพิธีวางศิลาฤกษ์มีขึ้นวันที่ 20 มิถุนายน 2554 และคาดว่ามูลค่าของโครงการนั้นอาจสูงถึง 18,000 ล้านบาท โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2558 และได้มีงานเปิดตัวโครงการในวันที่ 29 สิงหาคม 2559

อาคารมหานคร ตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 9 ไร่ บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มีพื้นที่ใช้สอย 135,000 ตร.ม. ออกแบบภายใต้แนวคิดอาคารเสมือนถูกโอบล้อมด้วยริบบิ้นสามมิติหรือ “พิกเซล” ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 77 ชั้น เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นตึกที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร ทำลายสถิติของตึกใบหยก 2 ที่มีความสูง 304 เมตร

70 ปีใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 คนไทยเราช่างโชคดีที่มีพระองค์จริงๆ ค่ะ โดยเฉพาะโครงการในพระราชดำริอย่าง สะพานพระราม 8 และ ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ที่ทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้นมาก ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ทีมงาน Decor MThai

ที่มาจาก Wikipedia

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

 ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

Link Source : https://decor.mthai.com/other/24645.html

ในหลวง สูง, ร.10 ส่วนสูง เท่าไหร่, อายุราชการ10, บัตร ประชาชน พระเจ้า แผ่นดิน, องค์ ที ส่วน สูง, ส่วน สูง อง ภา, ประยุทธ์ สูง, เลข อายุ ร 10, อายุร 10 ปี 62

No comments:

Post a Comment